รายละเอียดของโครงการ
สํานักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทําการสํารวจประชากรสูงอายุมาแล้ว 5 ครั้ง โดยครั้งแรกดําเนินการสํารวจ
ในปี 2537 ครั้งที่ 2 ในปี 2545 ครั้งที่ 3 ในปี 2550 ครั้งที่ 4 ในปี 2554 และครั้งที่ 5 ในปี 2557 ผลจากการสํารวจที่
ผ่านมาทั้ง 5 ครั้ง พบว่า ประเทศไทยมีจํานวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัด โดยปี 2537
มีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 6.8 ของประชากรทั้งประเทศ ปี 2545 ปี 2550 2554 และปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.4
10.7 12.2 และ 14.9 ตามลําดับ ล่าสุดปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 16.7 หรืออาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในอาเซียนที่เข้าสู่สังคมสูงวัย (Aged society) การเป็นสังคมสูงวัย คือ การที่มีจํานวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
(ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด) ในขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดน้อยลงเรื่อยๆ
จากนั้นจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Complete aged society) เมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
มากกว่า ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดปี 2564 และจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” (Super aged society)
เมื่อมีประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ประมาณปี 2574
เอกสารอ้างอิง
รายงานสถิติ
-
ลักษณะทั่วไปของสมาชิกในครัวเรือน
เอกสารอ้างอิง
รายงานสถิติ
-
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ